Categories
News

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: ซ่อมบ้าน ก่อนสาย ระบบประปาและระบบไฟฟ้าส่วนไหนที่ต้องเช็กบ้าง?

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: ซ่อมบ้าน ก่อนสาย ระบบประปาและระบบไฟฟ้าส่วนไหนที่ต้องเช็กบ้าง? ซ่อมบ้าน เป็นเรื่องที่คนมีบ้านต้องคอยสำรวจและดูแลอยู่ตลอดเวลา เพราะปัญหาเรี่องบ้านนั้นมีมากมายหลายอย่าง โดยเฉพาะ ระบบประปา และ ระบบไฟฟ้า ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะ ไฟฟ้า และ ประปา ถือเป็นระบบหลักของบ้าน ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาก็ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของทุกคนในบ้าน แต่จะมีจุดไหนบ้างที่ควรตรวจสอบเป็นประจำ เพื่อที่จะ ซ่อมบ้าน ได้ทันท่วงที

จุดตรวจสอบ ระบบประปา

วิธีง่าย ๆ ในการตรวจสอบ ระบบประปา ภายในบ้านคือการปิดก๊อกน้ำ หรือจุดจ่ายน้ำทุกจุดภายในบ้าน จากนั้นให้ลองตรวจสอบดูมิเตอร์น้ำว่ามาตรวัดน้ำยังเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากตัวเลขมาตรน้ำมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นนั่นก็หมายถึงอาจมีท่อน้ำ หรืออุปกรณ์ ประปา จุดใดจุดหนึ่งเกิดการรั่วซึมและรอการแก้ไขอยู่นั่นเอง นอกจากนี้แนะนำให้ ลองตรวจสอบร่องรอยการรั่วซึมตามพื้น ผนัง หรือฝ้าเพดานด้วยว่ามีคราบน้ำ หรือน้ำหยดรั่วซึมจากบริเวณไหนหรือไม่ หรืออาจลองตรวจสอบตามจุดต่าง ๆ ต่อไปนี้

1. ตรวจสอบท่อน้ำประปา

วิธีที่ง่ายที่สุดที่แนะนำไปแล้วคือการปิดอุปกรณ์จ่ายน้ำทุกจุดในบ้านแล้วตรวจสอบบริเวณมิเตอร์น้ำ ประปา หากมีการรั่วซึมมิเตอร์น้ำจะไม่หยุดหมุน ให้ลองนำกระดาษทิชชูไปพันรอบท่อประปาจุดที่สงสัยว่ามีการรั่วซึม หากพบว่าจุดไหนที่กระดาษทิชชูมีความเปียกชื้นก็แปลว่าเราเจอจุดรั่วซึมแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ท่อ ประปา รั่วซึมหรือท่อประปาแตกนั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน ท่อประปาเสื่อมสภาพ ถูกกระแทกหรือถูกสัตว์กัดแทะ แรงดันน้ำมากเกินไป แรงดันน้ำหยุดแบบฉับพลันจากการเกิดไฟดับ หรือแม่แต่การปล่อยให้ถังน้ำหรือแท้งค์น้ำแห้งบ่อย ๆ จนเมื่อเปิดใช้น้ำทำให้มีโอกาสที่น้ำจะไหลอัดท่อ ประปา จนทำให้ท่อระเบิด หรือท่อแตกเสียหายได้

วิธีแก้ปัญหาท่อน้ำ ประปา มีการแตกร้าวหรือรั่วซึมเล็กน้อยคือการใช้กาวดินน้ำมัน หรือกาว Epoxy หรือใช้เทปไฟเบอร์กลาสมาปิดบริเวณรอยรั่วให้เรียบร้อย แต่หากท่อน้ำประปามีความเสียหายมาก หรืออยู่ในจุดที่หาไม่เจอก็อาจจะต้องเดินท่อ ระบบประปา ใหม่ โดยแนะนำให้เลือกใช้ท่อน้ำประปาที่ได้มาตรฐานการผลิต มีความแข็งแรงทนทาน และเลือกใช้ช่างติดตั้งที่ไว้ใจได้เพื่อติดตั้งให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

2. ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในห้องน้ำ

อีกจุดหนึ่งที่มักมีปัญหา ประปา อยู่เป็นประจำคือบริเวณห้องน้ำของบ้าน โดยหากมีการรั่วซึมที่อุปกรณ์จ่ายน้ำอย่างหัวก๊อกน้ำ ฝักบัว สายฉีดชำระ ฯลฯ เหล่านี้สามารถถอดอุปกรณ์ออก ใช้เทปพันเกลียวสีขาวมาพันรอบเกลียวข้อต่อแล้วค่อยประกอบกลับเข้าไปใหม่ แต่หากอุปกรณ์แตกหักหรือชำรุดเสียหายมาก ก็สามารถหาซื้ออุปกรณ์ใหม่มาเปลี่ยนได้เลย

3. ตรวจสอบสุขภัณฑ์ห้องน้ำ

ระบบประปา สำหรับสุขภัณฑ์ หรือชักโครกห้องน้ำนั้นสามารถตรวจสอบได้ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ โดยการลองใช้สีผสมอาหารหยดลงไปในถังพักน้ำชักโครก หากมีการรั่วซึมจะเห็นสีของน้ำจากถังพักน้ำไหลออกมาโดยไม่ต้องกดฟลัชน้ำเลย หรืออาจใช้วิธีสังเกตดูบริเวณรอบ ๆ ขอบชักโครกว่ามีน้ำไหลเจิ่งนองออกมาหรือไม่ หากมีน้ำไหลนองหรือมีความเปียกชื้นรอบ ๆ ก็แปลว่ามีการรั่วซึมที่รอการซ่อมแซมอยู่เช่นกัน

4. ตรวจสอบพื้นห้องน้ำ

อีกหนึ่งจุดในห้องน้ำที่หลายคนอาจไม่ทันได้สังเกตคือพื้นกระเบื้องห้องน้ำที่อาจเกิดจากปัญหา ระบบประปา ใต้โครงสร้างพื้น หรือแม้แต่จากแหล่งความชื้นในดินตามธรรมชาติที่ทำให้พื้นห้องน้ำรั่วซึมตลอดเวลา ซึ่งการ ซ่อมบ้าน ในกรณีนี้อาจจะต้องประเมินจากความเสียหายเป็นหลัก หากไม่ได้มีการรั่วซึมมากก็อาจเลือกใช้วิธีใช้ยาแนวกันซึมกระเบื้อง หรือใช้ซีเมนต์กันซึมมาโบกทับตามจุดที่มีรอยรั่วซึมได้ แต่หากมีปัญหามากอาจต้องพิจารณาเรื่องการแก้ไขโดยรื้อพื้นกระเบื้องเก่าออกเพื่อสะกัดพื้นปูน ลงซีเมนต์ ยาแนวกันซึมใหม่ทั้งหมดแล้วจึงปูกระเบื้องใหม่ทับอีกครั้ง

จุดตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า

สำหรับการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า นั้นแนะนำว่าควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนทั้งภายในบ้านและภายนอกบ้าน เพราะปัญหาเรื่อง ไฟฟ้า นั้นค่อนข้างอันตรายรุนแรง อาจสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ตลอดเวลา หากเจอจุดที่สายไฟชำรุดหรือมีปัญหาจึงควรเปลี่ยนสายไฟใหม่ทันที นอกจากนี้ยังต้องหมั่นสำรวจทุกจุดที่มีการใช้ไฟฟ้าด้วยการผิดสวิตช์ไฟ และถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด จากนั้นให้ลองตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า หากเฟืองมิเตอร์หมุนอยู่ก็แปลว่ามีไฟรั่วที่จุดใดจุดหนึ่งของบ้าน ต้องรีบตามช่างไฟมาซ่อมด่วน!

1. ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่าหากลองปิดสวิตช์ไฟและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกจุดแล้วแต่มิเตอร์ไฟยังมีการเคลื่อนไหวอยู่นั่นแปลว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน นอกจากนี้ แนะนำให้ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่มีปุ่มกดทดสอบ หรือปุ่ม Test เพิ่มเติม เช่น เครื่องตัดไฟ ที่เมื่อกดปุ่ม Test สวิตช์หรือคันโยก รวมทั้งเบรกเกอร์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์จะตกลงมาทันทีหากยังใช้งานได้ตามปกติ แต่ถ้าหากอุปกรณ์เสียหายก็ต้องรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที

2. ตรวจสอบเมนสวิตช์

หลายคนอาจละเลย ไม่ค่อยได้เปิดตู้เมนสวิตช์เพื่อตรวจสอบบ่อย ๆ ทำให้บางครั้งอาจไม่พบปัญหา ไฟฟ้า ที่แฝงอยู่ เช่น อาจมีแมลงหรือมดเข้าไปทำรังอยู่ด้านใน หรืออุปกรณ์เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยชำรุดเสียหาย เป็นต้น กรณีแบบนี้ควรเปลี่ยนอุปกรณ์ชุดใหม่ให้เรียบร้อย และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดให้ปลอดจากสัตว์รบกวนเสมอ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ไฟฟ้า และช่วยให้ระบบป้องกันไฟรั่วหรือไฟดูดสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าแต่ละจุดภายในบ้าน

สำหรับบ้านไหนที่อยู่มานานหลายปีแล้วก็เป็นปกติที่อุปกรณ์ ไฟฟ้า อย่างเต้ารับไฟฟ้าภายในบ้านจะเกิดการเสื่อมสภาพไปบ้างตามกาลเวลา จึงไม่ควรละเลยที่จะตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้าอยู่เสมอว่ามีความผิดปกติหรือไม่ โดยอาจสังเกตดูว่าเต้ารับหลวมไหม หรือสังเกตดูว่าเต้ารับมีรอยแตกร้าว หรือมีรอยไหม้บ้างหรือไม่ หากเต้ารับไฟฟ้าหลวมก็สามารถซ่อมแซมด้วยการใช้สกรูขันให้แน่นดังเดิมได้ แต่หากเกิดความเสียหายจากกรณีอื่น ๆ ก็ควรเปลี่ยนเต้ารับใหม่ โดยแนะนำให้ใช้เต้ารับที่รองรับขากราวด์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาขากราวด์แบบสามขาเพื่อความปลอดภัย และควรหมั่นใช้ไขควงวัดไฟคอยทดสอบเต้ารับไฟฟ้าทุกจุดในบ้านอยู่เสมอ

4. ตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในบ้าน

อีกหนึ่งจุดที่จะตกสำรวจไม่ได้เด็ดขาดในงานตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า นั่นคือสายไฟต่าง ๆ ภายในบ้านที่ต้องหมั่นสังเกตดูว่ามีสายไฟจุดไหนที่มีความผิดปกติหรือชำรุดเสียหายหรือไม่ โดยเฉพาะในจุดอับสายตา หรือในจุดที่มองไม่เห็นอย่างใต้ฝ้าเพดานที่อาจมีปัญหาสายไฟเปื่อยกรอบจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน หรือปัญหาสายไฟขาด สายไฟชำรุดจากการถูกสัตว์กัดแทะในกรณีที่สายไฟไม่ได้ถูกหุ้มอย่างแน่นหนาด้วยท่อร้อยสายไฟ ซึ่งหากพบปัญหาเหล่านี้ก็ต้องรีบเปลี่ยนสายไฟใหม่ทันที

5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า

อันตรายจาก ไฟฟ้า นั้นไม่ได้มาจาก ระบบไฟฟ้า ที่มีปัญหาขัดข้องเท่านั้น แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้บ่อย ๆ เช่นกัน ดังนั้นเมื่อตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ทั่วบ้านจนครบถ้วนแล้วก็ต้องไม่ลืมตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านว่ายังใช้งานได้ดีเป็นปกติหรือไม่ โดยวิธีที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ไขควงไฟฟ้าหรือไขควงวัดไฟในการตรวจสอบ เพียงแค่นำไขควงวัดไฟมาแตะบนเครื่องใช้ไฟฟ้าในส่วนที่เป็นโลหะ หากมีแสงสว่างขึ้นมาจากหลอดไฟที่ไขควงวัดไฟก็แปลว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้น ๆ มีไฟรั่วอยู่ ทางที่ดีให้เลิกใช้งานและตรวจสอบว่สมีการติดตั้งสายดินอย่างถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ หากไม่มีการติดตั้งสายดินก็ต้องติดตั้งให้เรียบร้อย จะได้ไม่เสี่ยงกับอันตรายจาก ไฟฟ้า รั่วหรือไฟดูดนั่นเอง